การถ่ายภาพบุคคลด้วยเทคนิคแบบบ้าน ๆ
(How to the portraits.)
จับโฟกัสที่ดวงตา (Focus on the eyes)
ด้วยคำที่ว่า “ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจ” ดังนั้นหลักการสำคัญข้อแรกของการถ่ายภาพบุคคล คือการจับโฟกัสไปที่ดวงตา เนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอก และแสดงถึงอารมณ์ของภาพได้ดี ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตา และทำให้ตาไม่ชัดแล้วนั้น ตัวแบบที่เราถ่ายจะดูเหมือนคนสุขภาพไม่ดี ดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที และเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่กว้าง ซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกน้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่ หลายครั้งเราอาจจะพบกรณีที่จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัด หรือบางครั้งเป็นแก้ม หรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่ หรือว่าใบหูไม่ชัด แต่ภาพที่ได้ก็ยังสามารถที่จะเป็นภาพที่ดีได้
อย่าวางขอบรูปให้ตัดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ (Do not place the frame on the joints of the body.)
การจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ของภาพนั้นดูไม่ดี คนที่ดูภาพจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าตัวแบบของเรานั้นแขน หรือขาขาด การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขา หรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องพยายามไม่ตัดบริเวณที่เป็นข้อต่อเท่านั้นเอง ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น
ควรสื่อสารกับตัวแบบให้ชัดเจน (Clear communication)
การถ่ายภาพ Portrait นั้นเราไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพประเภทอื่น ๆ การถ่ายภาพบุคคลเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่าย กับตัวนายหรือนางแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าจะถ่ายทอดอารมณ์ และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่าทำให้ตัวแบบของเราเกิดความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจว่าท่านต้องการอารมณ์ และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงตามความต้องการ หรือ Concept ของภาพแล้ว เมื่อนั้นคุณก็จะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการ
ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น (Let him be himself)
ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่น ภาพวิถีชีวิต สารคดี หรือประเภทอื่น ๆ ก็ตาม บางครั้งเราต้องการถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคน ๆ นั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คน ๆ นั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิต หรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรง ๆ และดูค่อนข้างจะเสียมารยาท และทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จริงอยู่การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้น แต่คนที่จะถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอ ๆ กัน เราจึงควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อน เพื่อแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขา และถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวย ๆ นั้นมีความเป็นไปได้สูง บางครั้งเราอาจจะต้องคุยไป ถ่ายไป คอยจับกริยาท่าทางของเขา และแน่นอนในหลาย ๆ ครั้งที่เราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการที่จะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้น บางครั้งจะทำให้ตัวแบบเกิดอาการเกร็งได้
การควบคุมแสง (Window light)
เทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคล คือการควบคุมทิศทางแสง การที่จะได้ภาพที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่าง ในสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น การจัดสภาพแสงที่แตกต่างกันไปสามารถสร้างอารมณ์ของภาพได้ดี ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้น ๆ อย่างไร เทคนิคหนึ่งที่สามารถใช้งานได้ดี คือการจัดให้สภาพแสงที่เข้ามามีเพียงด้านเดียว หรือจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานได้ไม่ยาก แต่สามารถที่จะสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี การหาสถานที่ ๆ มีสภาพแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงต่าง ๆ ขอให้เป็นสถานที่ ๆ สามารถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดสภาพแสงให้เข้ามากระทบด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพที่มีความแตกต่างจากปกติ มีลักษณะที่แปลกตา และน่าค้นหามากยิ่งขึ้น
ถ่ายภาพย้อนแสง (Shooting against the light)
การถ่ายภาพย้อนแสงนั้นอาจจะทำให้ได้ภาพตัวแบบที่หน้าดำ และเป็นภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลโดยย้อนแสงนั้น มีสิ่งที่สวยงามซ่อนอยู่ เช่นประกายสะท้อนแสงของเส้นผม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการเอง คือการทำอย่างไรไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำ ซึ่งเทคนิค และวิธีแก้นั้นมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
เทคนิค และวิธีการเหล่านี้สามารถที่จะนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์ (How to the portraits with landscapes.)
หลาย ๆ ครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลัง และจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่าง เช่น การไปถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือสถานที่สำคัญ ๆ โดยทั่วไปแล้วเรามักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพ ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งตัวแบบของเราก็จะไปบดบังทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราอาจจะใช้วิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ และมีความสำคัญที่เท่ากัน การวางบุคคลไว้ทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวาของภาพ ตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง ก็สามารถที่จะเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลัง และภาพของตัวแบบเอาไว้ด้วยกันได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายภาพร่วมกับตึก หรือวัตถุที่มีลักษณะเป็นทรงตั้งสูง ๆ ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับว่าเราจะถ่ายภาพคู่ โดยให้จินตนาการว่าสถานที่นั้น ๆ หรือตึกหลังนั้นเป็นบุคคลอีกคนหนึ่ง
ด้วยคำที่ว่า “ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจ” ดังนั้นหลักการสำคัญข้อแรกของการถ่ายภาพบุคคล คือการจับโฟกัสไปที่ดวงตา เนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอก และแสดงถึงอารมณ์ของภาพได้ดี ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตา และทำให้ตาไม่ชัดแล้วนั้น ตัวแบบที่เราถ่ายจะดูเหมือนคนสุขภาพไม่ดี ดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที และเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่กว้าง ซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกน้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่ หลายครั้งเราอาจจะพบกรณีที่จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัด หรือบางครั้งเป็นแก้ม หรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่ หรือว่าใบหูไม่ชัด แต่ภาพที่ได้ก็ยังสามารถที่จะเป็นภาพที่ดีได้
อย่าวางขอบรูปให้ตัดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ (Do not place the frame on the joints of the body.)
การจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ของภาพนั้นดูไม่ดี คนที่ดูภาพจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าตัวแบบของเรานั้นแขน หรือขาขาด การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขา หรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องพยายามไม่ตัดบริเวณที่เป็นข้อต่อเท่านั้นเอง ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น
ควรสื่อสารกับตัวแบบให้ชัดเจน (Clear communication)
การถ่ายภาพ Portrait นั้นเราไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพประเภทอื่น ๆ การถ่ายภาพบุคคลเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่าย กับตัวนายหรือนางแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าจะถ่ายทอดอารมณ์ และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่าทำให้ตัวแบบของเราเกิดความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจว่าท่านต้องการอารมณ์ และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงตามความต้องการ หรือ Concept ของภาพแล้ว เมื่อนั้นคุณก็จะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการ
ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น (Let him be himself)
ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่น ภาพวิถีชีวิต สารคดี หรือประเภทอื่น ๆ ก็ตาม บางครั้งเราต้องการถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคน ๆ นั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คน ๆ นั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิต หรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรง ๆ และดูค่อนข้างจะเสียมารยาท และทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จริงอยู่การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้น แต่คนที่จะถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอ ๆ กัน เราจึงควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อน เพื่อแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขา และถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวย ๆ นั้นมีความเป็นไปได้สูง บางครั้งเราอาจจะต้องคุยไป ถ่ายไป คอยจับกริยาท่าทางของเขา และแน่นอนในหลาย ๆ ครั้งที่เราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการที่จะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้น บางครั้งจะทำให้ตัวแบบเกิดอาการเกร็งได้
การควบคุมแสง (Window light)
เทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคล คือการควบคุมทิศทางแสง การที่จะได้ภาพที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่าง ในสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น การจัดสภาพแสงที่แตกต่างกันไปสามารถสร้างอารมณ์ของภาพได้ดี ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้น ๆ อย่างไร เทคนิคหนึ่งที่สามารถใช้งานได้ดี คือการจัดให้สภาพแสงที่เข้ามามีเพียงด้านเดียว หรือจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานได้ไม่ยาก แต่สามารถที่จะสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี การหาสถานที่ ๆ มีสภาพแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงต่าง ๆ ขอให้เป็นสถานที่ ๆ สามารถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดสภาพแสงให้เข้ามากระทบด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพที่มีความแตกต่างจากปกติ มีลักษณะที่แปลกตา และน่าค้นหามากยิ่งขึ้น
ถ่ายภาพย้อนแสง (Shooting against the light)
การถ่ายภาพย้อนแสงนั้นอาจจะทำให้ได้ภาพตัวแบบที่หน้าดำ และเป็นภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลโดยย้อนแสงนั้น มีสิ่งที่สวยงามซ่อนอยู่ เช่นประกายสะท้อนแสงของเส้นผม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการเอง คือการทำอย่างไรไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำ ซึ่งเทคนิค และวิธีแก้นั้นมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
- ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุด โดยเลือกวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ
- ใช้แสง flash ช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
- ใช้ Reflex สะท้อน และเติมแสงบริเวณใบหน้า วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่ม และมีมิติมากกว่าการใช้ flash
เทคนิค และวิธีการเหล่านี้สามารถที่จะนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์ (How to the portraits with landscapes.)
หลาย ๆ ครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลัง และจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่าง เช่น การไปถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือสถานที่สำคัญ ๆ โดยทั่วไปแล้วเรามักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพ ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งตัวแบบของเราก็จะไปบดบังทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราอาจจะใช้วิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ และมีความสำคัญที่เท่ากัน การวางบุคคลไว้ทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวาของภาพ ตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง ก็สามารถที่จะเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลัง และภาพของตัวแบบเอาไว้ด้วยกันได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายภาพร่วมกับตึก หรือวัตถุที่มีลักษณะเป็นทรงตั้งสูง ๆ ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับว่าเราจะถ่ายภาพคู่ โดยให้จินตนาการว่าสถานที่นั้น ๆ หรือตึกหลังนั้นเป็นบุคคลอีกคนหนึ่ง
Do you want a camera? >> CLICK <<.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น